เมนู

2. มุตตาเถรีคาถา


[403] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวสอน นางมุตตา
สิกขมานา
ด้วยพระคาถานี้เนืองๆ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลส
เครื่องประกอบทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ
แล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมองฉะนั้น เธอมีจิตหลุดพ้น
แล้ว จงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด.

จบ มุตตาเถรีคาถา

2. อรรถกถามุตตาเถรีคาถา


คาถานี้ว่า
ดูก่อนนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลส
เครื่องประกอบทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ
แล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมองฉะนั้น เธอมีจิตหลุดพ้น
แล้ว จงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด
ดังนี้
เป็นคาถาสำหรับนางสิกขมานาชื่อมุตตา.
นางมุตตานั้นได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่ง
สมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนตระกูล
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระ
ศาสดาเสด็จไปในถนน มีใจเลื่อมใสถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้ว

นอนคว่ำแทบพระยุคลบาทของพระศาสดา ด้วยกำลังปีติ นางบังเกิดในเทว-
โลกด้วยบุญกรรมนั้น ท่องเที่ยวไป ๆ มาๆ อยู่ในสุคติภูมิทั้งหลายนั่นเอง ใน
พุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในกรุงสาวัตถี มีชื่อว่า
มุตตา เพราะเป็นหญิงถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เวลามีอายุ 20 ปี นางจึงบวช
เป็นสิกขมานาในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมี ให้พระมหาปชาบดีโคตมี
นอกกัมมัฏฐานแล้วเจริญวิปัสสนา วันหนึ่งกลับจากบิณฑบาต แสดงวัตรคือ
กิจในการฉันแก่ภิกษุณีผู้เป็นเถรีทั้งหลายแล้วไปที่พักกลางวัน นั่งในที่ลับ
เริ่มมนสิการวิปัสสนากัมมัฏฐาน พระศาสดาประทับอยู่ที่พระคันธกุฏีมีกลิ่น
หอมนั่นแหละ ทรงเปล่งพระรัศมีแสดงพระองค์เหมือนประทับนั่งต่อหน้าของ
นางสิกขมานามุตตานั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า
ดูก่อนนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลส
เครื่องประกอบทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์ถูกราหูจับ
แล้ว พ้นจากเครื่องเศร้าหมองฉะนั้น เธอมีจิตหลุด
พ้นแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุตฺเต เป็นคำเรียกนางสิกขมานานั้น.
บทว่า มุญฺจสฺสุ โยเคหิ ความว่า จงพ้นจากโยคะสี่มีกามโยคะเป็นต้น ด้วย
มรรคปฏิบัติ คือจงเป็นผู้มีจิตพ้นจากโยคะเหล่านั้น. เหมือนอย่างอะไร. บทว่า
จนฺโท ราหุคฺคหา อิว ความว่า เหมือนพระจันทร์ถูกอสุรินทราหูจับด้วยหัตถ์
พ้นจากเครื่องเศร้าหมอง. บทว่า วิปฺปมุตฺเตน จิตฺเตน ได้แก่ ด้วยจิตที่พ้น
ด้วยดี ด้วยสมุจเฉทวิมุตติ ด้วยอริยมรรค. ก็บทว่า วิปฺปมุตฺเตน จิตฺเตน นี้
เป็นตติยาวิภัตติ ลงในลักษณะอิตถัมภูต (แปลว่ามี). บทว่า อนณา ภุญฺช
ปิณฺฑกํ
ความว่า จงเป็นผู้ไม่มีหนี้ เพราะละหนี้คือกิเลสเสียได้ พึงบริโภค

ก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยว่า ผู้ใดไม่ละกิเลสทั้งหลายบริโภคปัจจัยที่
พระศาสดาทรงอนุญาตไว้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีหนี้บริโภค เหมือนอย่างที่ท่าน
พระพากุละ กล่าวไว้ว่า อาวุโส เราเป็นผู้มีหนี้บริโภคก้อนข้าวของชาว
แว่นแคว้น ถึง 7 วันทีเดียว ฉะนั้นบรรพชิตในพระศาสนา พึงละหนี้คือกาม
ฉันทะเป็นต้น เป็นผู้ไม่มีหนี้บริโภคของที่เขาถวายด้วยศรัทธาเถิด. บทว่า
ปิณฺฑกํ เป็นหัวข้อเทศนาเท่านั้น ใจความคือปัจจัย 4. บทว่า อภิณฺหํ
โอวทติ
ความว่า ชำระอุปกิเลสให้บริสุทธิ์ด้วยการถึงอริยมรรค ให้โอวาท
โดยส่วนมาก.
นางสิกขมานามุตตานั้นตั้งอยู่ในพระโอวาทนั้น ไม่นานนักก็บรรลุ
พระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า1
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามโกณฑัญญะ
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้คงที่ ยังเหล่าสัตว์ให้ข้ามสังสาร-
วัฏ เสด็จพุทธดำเนินอยู่ในถนน ข้าพเจ้าออกจากเรือน
นอนคว่ำ พระโลกเชษฐ์ได้อนุเคราะห์เหยียบบนศรีษะ
แล้ว พระผู้นำโลกได้เสด็จไป ด้วยจิตเลื่อมใสนั้น
ข้าพเจ้าได้ไปสู่ภพชั้นดุสิต ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ภพ
ทั้งหมดข้าพเจ้าถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดเครื่องผูกพัน
เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ดังช้างพังตัดเชือกแล้ว การมา
เฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐของข้าพเจ้า เป็นการมาดี
แล้วหนอ ข้าพเจ้าได้บรรลุวิชชาสามตามลำดับ
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คุณ

1. ขุ. 33/ข้อ 144. สังกมนกาเถรีอปทาน.

วิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทาสี่ วิโมกข์แปดและอภิญญา
หก ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอน
ของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว นางสิกขมานามุตตา นั้น ได้เปล่งคาถา
นั้นแล. บทว่า สิกฺขมานา ได้แก่ ผู้มีสิกขาบริบูรณ์. ต่อมา นางได้กล่าว
คาถานั้นแหละในเวลาปรินิพพานแล.
จบ อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

3. ปุณณาเถรีคาถา


[404] ดูก่อนนางปุณณา เธอจงเต็มด้วยธรรม
ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์วันขึ้น 15 ค่ำ เธอจง
ทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาอันบริบูรณ์เถิด.

จบปุณณาเถรีคาถา

3. อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา


คาถาว่า ปุณฺเณ ปูรสฺสุ ธมฺเมหิ เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับนาง
สิกขมานาชื่อปุณณา.
นางสิกขมานาชื่อปุณณาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เมื่อ
โลกว่างพระพุทธเจ้า บังเกิดในกำเนิดกินนร ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา วันหนึ่ง